การกลายพันธุ์ของ TP53 ส่งผลต่อการอยู่รอดในผู้ป่วย MPNs อย่างไร

การกลายพันธุ์ของ TP53 ส่งผลต่อการอยู่รอดในผู้ป่วย MPNs อย่างไร ในระหว่างการประชุมและนิทรรศการประจำปีของ American Society of Hematology (ASH) ครั้งที่ 65 MPN Hub มีความยินดีที่ได้พูดคุยกับ Benjamin Rolles จาก Brigham and Women’s Hospital เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา เราถามว่าการกลายพันธุ์ของ TP53 ส่งผลต่อการอยู่รอดในผู้ป่วย MPNs อย่างไร…

ผลกระทบของรัสเฟอร์ไทด์ต่อโรคเลือดข้น (PV)โพลีไซเธเมีย เวรา

ผลกระทบของรัสเฟอร์ไทด์ต่อโรคเลือดข้น (PV)โพลีไซเธเมีย เวรา ผลการทดลอง Phase 2 REVIVE ซึ่งตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Rusfertide ในการรักษาโรค PV ใหม่ ในช่วงระยะเวลาศึกษา 28 สัปดาห์ การรักษาด้วย Rusfertide มีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยของฮีมาโตคริต (อัตราส่วนของปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรรวมของเลือด) น้อยกว่า 45% นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากตอบสนองต่อการรักษาด้วย Rusfertide…

ระยะเฉียบพลัน ของ โรค MPN คืออะไร?

สวัสดีปีใหม่ครับ เพื่อนๆสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป การเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวของโรคไมอีโลโปรลิเฟอเรทีฟ นีโอปลาสซึม (MPN) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ระยะเฉียบพลัน ของ MPN” เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคที่น่ากลัวที่สุด โดยมีอุบัติการณ์ประมาณ 1–4% สำหรับโรคเกล็ดเลือดสูง ET, 3–7% สำหรับโรคเลือดข้น PV และ 9– 13% สำหรับ โรคพังผืดในไขกระดูก MF( Myelofibrosis) หลักการวินิจฉัย โรค มะเร็งเลือด เอ็มพีเอ็น ระยะเฉียบพลัน (…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 6

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 6 PV Treatment การรักษาเลือดข้น ในการรักษามีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายผลิตออกมามากผิดปกติและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงบรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะเลือดข้น เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน เป็นต้น โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้ การถ่ายเลือด (Phlebotomy) วิธีการจะคล้ายกับการบริจาคเลือด แพทย์หรือพยาบาลจะใช้เข็มเจาะที่เส้นเลือดบริเวณแขนแล้วถ่ายเลือดออกจากร่างกาย เพื่อกำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่มีจำนวนมากเกินไป โดยจะรักษาทุกสัปดาห์ หากอาการดีขึ้นจะลดลงเหลือทุก ๆ 6–12 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 5

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 5 What are complementary therapies for? ผู้ป่วยมะเร็งบางรายอาจพิจารณาใช้ “การรักษาเสริม” นอกเหนือจากการรักษามะเร็งมาตราฐาน. การรักษาเสริม ใช้เพื่อ: •ลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง • ทำให้มีสุขภาวะทางร่างกายและอารมณ์ที่ดีขึ้น •ช่วยเพิ่มการฟื้นตัวจากโรคมะเร็ง ตัวอย่างของ การรักษาเสริม เช่น โยคะ ไทเก็กและชี่กง การทำสมาธิ การนวด การฝังเข็ม การรักษาด้วยศิลปะและดนตรี โภชนาการ…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 4

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 4 Speaker ได้นำเสนอประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับว่า ทำไม แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ถึงต้องส่งผู้ป่วยโรค MPNs ไปพบหมอทางโลหิตวิทยา ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำการตรวจทาง lab เพื่อดูและประเมินค่า ของผู้ป่วย MPN แต่ละชนิดที่ มีความแตกต่างกันไป ดังนี้ โรคเลือดข้น PV ฮีโมโกลบิน Hb : มากกว่า 16.5 ในผู้ชาย และ…

MPN Horizons 2023- video and slide presentation

สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน ผมได้เขียนสรุปประเด็นสำคัญของการประชุมนานาชาติประจำปีที่เรียกว่า MPN Horizons Conference 2023 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ต.ค. 66 ที่เมือง Zagreb, Croatia ที่ผ่านมา ทั้งในเพจ Facebook ของ ชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ที่เว็บไซท์นี้ซึ่งเขียนได้ 3 ตอนแล้ว ถ้าเพื่อนๆที่พอจะเข้าใจภาษาอังกฤษได้ สามารถศึกษาเนื้อหารายละเอียดจาก video and slide…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 3

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 3 Speaker ได้นำเสนอ ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลือดข้น PV จำนวน 164 คน พบว่า อันดับ 1 : 41.12% โรคหัวใจและหลอดเลือด อันดับ 2 : 19.51% มะเร็งชนิดก้อน อันดับ 3 : 15.24% สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 2

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 2 การรักษาด้วยตัวยาใหม่ๆนอกเหนือจากยา Ruxolitinibในการรักษาโรค MPNs ของปี 2023 และ ในอนาคต โรคเลือดข้น PV – Ropeginterferon ที่ได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2021 – PTG-300 (Rusfertide-hepcidin mimetic) โรคเกล็ดเลือดสูง ET – Ropeginterferon – Bomedemstat(poLSD-1…

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023: ตอน 1

สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023: ตอน 1 การทดลองเฟส1และ2 ของ ยา Ruxolitinib เป็นกลุ่มยา JAK Inhibitor ที่ใช้ร่วมกับ ตัวยาต่างๆเพื่อการรักษา โรคพังผืดในไขกระดูก(MF) สไลด์นี้เป็นภาพรวมที่ซับซ้อนของเป้าหมายทางชีวภาพสำหรับยารักษาโรคใหม่ๆ ที่กำลังได้รับการพัฒนาสำหรับโรคไมอีโลไฟโบรซิส ซึ่งเป็นมะเร็งในเลือดประเภทหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือแสดงให้เห็นจุดต่างๆ ภายในเซลล์และสภาพแวดล้อมที่นักวิทยาศาสตร์กำลังสำรวจเพื่อหยุดยั้งหรือชะลอการเกิดโรค – **เซลล์และสัญญาณ:** เซลล์เม็ดเลือดของคุณมีสัญญาณและวิถีทางต่างๆ ที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ ในโรคไมอีโลไฟโบรซิส เส้นทางเหล่านี้มักจะทำงานไม่ถูกต้อง – **ปัจจัยการเจริญเติบโต:**…

สรุปการประชุม MPN Horizons 2023- Day 3

สรุปการประชุม MPN Horizons 2023- Day 3 สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วไป ทุกท่านครับ วันที่ 3 ของการประชุม: วันอาทิตย์ที่ 15 ต.ค. 2566 วันสุดท้ายของการประชุม MPN Horizons 2023 เริ่มต้นด้วย Advocacy Session No.4 ในหัวข้อ การอยู่ร่วมกับโรคมะเร็งเรื้อรัง เป็นอันตรายต่อชีวิต…

สรุปการประชุม MPN Horizons 2023- Day 2

สรุปการประชุม MPN Horizons 2023- Day 2 สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วไป ทุกท่านครับ วันที่ 2 ของการประชุม: วันเสาร์ที่ 14 ต.ค. 2566 วันที่สองของ MPN Horizons 2023 เริ่มต้นด้วย Medical Session No2. เซสชั่นทางการแพทย์: ความซับซ้อนและการรวมกันในการรักษา MPN…

สรุปภาพรวมการประชุม MPN Horizons 2023- Day 1

สรุปภาพรวมการประชุม MPN Horizons 2023- Day 1 สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วไป ทุกท่านครับ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของผมทุกครั้ง ที่มีโอกาสเป็นตัวแทนของชมรมฯเราไปร่วมการประชุมประจำปีนานาชาติที่เรียกว่า MPN Horizons International Conference ซึ่งปีนี้จัดที่ เมือง Zagreb ประเทศ Croatia เป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 13 ถึง 15…

MPN Awareness Day 2023 : วันที่ 14 กันยายน 2566 !

ปีนี้ MPN Awareness Day ตรงกับวันที่ 14 กันยายน 2566 ! วันแห่งการรับรู้ของ MPN คืออะไร? MPN Awareness Day เป็นกิจกรรมประจำปีที่จัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปีเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรค myeloproliferative neoplasms (MPNs) MPNs เป็นกลุ่มของมะเร็งเม็ดเลือดหายากที่ส่งผลต่อไขกระดูกและทำให้เซลล์เม็ดเลือดผลิตมากเกินไป MPN AwarenessDay มีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับโรค MPNs และผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการตรวจพบ วินิจฉัย และรักษาโรค…

เสวนาในหัวข้อ “รู้ทันมะเร็งโรคเลือดชนิดหายาก MPN & MDS”

สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและประชาชนผู้สนใจทั่วไป (เวลาผ่านไปเรื่อยๆ เหลือเวลาไม่ถึงเดือนแล้วครับ) ชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง (Thai Cancer Society) พันธมิตรหลักของเราได้เชิญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโลหิตวิทยา จากชมรมโรค MPN แห่งประเทศไทย(กลุ่มแพทย์) จัดเสวนาในหัวข้อ “รู้ทันมะเร็งโรคเลือดชนิดหายาก MPN & MDS” ผ่านทาง FB Live วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา13.00…

วิตามิน D กับโรค MPNs

วิตามิน D กับโรค MPNs ในอดีตที่ผ่านมามีข้อสงสัยว่า คนเป็น MPNs ควรได้รับวิตามิน D เสริมหรือไม่ ความจริงคือ คนเป็น MPN ส่วนใหญ่ มักขาดวิตามิน D หากได้ตรวจ แต่ความสงสัยที่ยังไม่ได้พิสูจน์แน่ชัดคือ วิตามิน D เป็นสารกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์มากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาของโรคหรือไม่ ในอดีตมีทั้งงานวิจัยที่สนับสนุนให้เสริมวิตามิน D และงานวิจัยที่คัดค้านว่าวิตามิน D อาจจะทำให้เร่งการพัฒนาของโรคเร็วขึ้น บทความนี้ก็ไม่ได้ชี้แนะว่า ผู้ป่วยควรรับวิตามิน D…

อาการคันใน MPNs

อาการคันเมื่อสัมผัสกับน้ำ Aquagenic Pruritus (AP) เป็นสิ่งที่พบมากกว่าอาการคันที่ไม่ได้สัมผัสน้ำในผู้ป่วย MPNs การศึกษาในผู้ป่วย MPN 500 คน พบว่า ผู้อาการคันแบบ AP มีโอกาสเกิดการพัฒนาของโรคไปเป็น AML หรือ MF ได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการคันแบบ non-AP ruxolitinib และ hydroxyurea คือยาที่สามารถลดอาการคันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนๆสมาชิกสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้นะครับ CR: the owner of data และขอขอบคุณ…

ผลไม้(grapefruit) มีปฎิกริยาต่อยาหลายชนิด

ผลไม้ที่มีสาร Furanocoumarins เช่น grapefruit, pomelo (ส้มโอ) มีปฎิกริยาต่อยาหลายชนิด เป็นผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ใช้ยาลดเม็ดเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาลดคลอเรสเตอรอล และยาอื่นๆอีกมาก ยาที่ใช้กับผู้ป่วย MPN มีปฎิกริยาต่อสารนี้อย่างมากคือ interferon ,ruxolitinib , xarelto,plavix ยาลดคลอเรสเตอรอล statins ส่วน hydrea กำลังมีการศึกษาเรื่องนี้อยู่ แต่ที่ผ่านมาไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าสารนี้มีผลต่อ hydrea ลักษณะของผลไม้ที่มีสารนี้มากมีลักษณะคล้ายส้ม ที่มีเปลือกหนา มีรสฝาดเปรี้ยว เช่น เกรปฟรุต…

การศึกษาถึงอัตราการเกิดเลือดอุดตันชนิดที่เกิดเป็นลิ่มเลือด

มีบทความที่น่าสนใจ ตีพิมพ์เมื่อ 7/07/2023 สองวันที่ผ่านมา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2007-2019 จากผู้ป่วย PV 82,960 คน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจำนวนมาก เป็นการศึกษาถึงอัตราการเกิดเลือดอุดตันชนิดที่เกิดเป็นลิ่มเลือดก่อน แล้วเกิดอุดตันในหลอดเลือดของอวัยวะ เรียกว่า Thromboembolism อุบัติการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า Thromboembolic events (TE) พบว่า ผู้ใช้เพียง Hydroxyurea(HU) เพียงอย่างเดียวตลอดระยะเวลาการรักษาจำนวน 3,852 คน มีอัตราการเกิด TE ลดลงในช่วงแรก แต่เพิ่มขึ้นในภายหลัง ที่ใช้…

การเจาะเลือดออกเพียงอย่างเดียวสามารถรักษาระดับฮีมาโตคริตตามเป้าหมายได้อย่างเพียงพอในผู้ป่วย PV ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่?

ประเด็นการศึกษาทดลอง การเจาะเลือดออก (Phelbotomy) เพียงอย่างเดียวสามารถรักษาระดับฮีมาโตคริตตามเป้าหมายได้อย่างเพียงพอในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเลือดข้น Polycythemia Vera (PV) ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่? วิธีการศึกษา ในการทดลองสุ่มแบบ open-label ระยะที่ 2 เราเปรียบเทียบโรเปกอินเตอร์เฟอรอน alfa-2b (ropeg; 100 μg ทุก 2 สัปดาห์) กับการตัดโลหิตออกเฉพาะที่เกี่ยวกับการรักษาระดับมัธยฐานฮีมาโตคริต (≤45%) ในช่วง 12 เดือนที่ไม่มีการดำเนินของโรค ( จุดสิ้นสุดหลัก) ในการติดตามผล อนุญาตให้ข้ามไปยังกลุ่มการรักษาทางเลือกได้หากไม่พบจุดสิ้นสุดหลัก…

การวัดการกลายพันธุ์เชิงปริมาณในการวินิจฉัยโรคและพยากรณ์โรค ในPV

20 เมษายน 2523 บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์หลายฉบับ JAK2V617F allele burden in polycythemia vera: burden of proof เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ Jak2 Allele Burden หรือ ในบทความนี้ใช้ชื่อว่า Varient Allele Frequency (VAF) เป็นการวัดปริมาณของยีนกลายพันธุ์เป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยีนปกติ สีเทาคือยีนปกติ สีฟ้าคือยีนที่มีความผิดปกติที่โครโมโซมเดี่ยว heterozygous คือคนที่เป็น ET สีแดงคือยีนผิดปกติในทั้งคู่ของโครโมโซม…

สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2022 ตอน 5

สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2022 EP 5: หลักการวินิจฉัย โรคพังผืดในไขกระดูก PMF ตามเกณฑ์ของ WHO 2017 เกณฑ์การวินิจฉัย ระยะก่อนมีพังผืด (prePMF) การวินิจฉัยอาศัยเกณฑ์หลัก 3 ข้อ และเกณฑ์รอง 1 ข้อ เกณฑ์หลัก (Major criteria) 1. Megakaryocyte proliferation and atypia โดยไม่พบ…

สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2022 ตอน 4

สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2022 EP 4: หลักการวินิจฉัย โรคเกล็ดเลือดสูง ET ตามเกณฑ์ของ WHO 2016 มี 4 ข้อกำหนดหลัก และ 1 ข้อกำหนดรอง หากได้ครบ 4 หลัก ไม่จำเป็นต้องตรวจตามข้อกำหนดรอง วินิจฉัยว่าเป็น ET ได้เลย หากมีครบเพียง 3 หลัก ต้องตรงตามข้อกำหนดรอง จึงจะวินิจฉัยเป็น…

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 ตอน 3

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 EP 3: การวินิจฉัยโรคเลือดข้น PV ตามเกณฑ์ ของ WHO 2016 มี 3 ข้อกำหนดหลัก และ 1 ข้อกำหนดรอง ข้อกำหนดหลัก 1) ชาย HB>16.5 g/dl หรือ HCT>49% , หญิง HB>16.0 g/dl หรือ…

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 ตอน 2

สรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 EP2: อัพเดทกลุ่มยา JAK Inhibitor ยากลุ่ม targeted therapy มุ่งเป้าไปยับยั้งขัดขวางการส่งสัญญาณการทำงานของยีนที่ก่อให้เกิดอาการ จึงไม่ได้ทำหน้าที่รักษาโรคหรือลดการกลายพันธุ์ แต่เป็นการลดขนาดม้าม ลดอาการได้ดี กลุ่มยา JAK inhibitors in 2022 – Ruxolitinib (Jakavi) เป็นยาหลัก – Fedratinib ใช้แทนเมื่อทนต่อผลข้างเคียงไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อยาหลัก – Pacritinib…

สรุปหัวขัอสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 ตอน 1

สรุปหัวขัอสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2022 EP1: การพัฒนาและการกลายพันธ์ของโรค MPNs Dr. Martin Ellis พูดถึง การพัฒนาของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ โรคเลือดข้น PV และ โรคเกล็ดเลือดสูง ET กลายเป็น โรคพังผืดในไขกระดูก MF และ กลายเป็นโรค มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน AML ผู้ป่วยที่ตรวจการกลายพันธ์ ของยีน Jak2, Calr, MPL…

สรุปการประชุม MPN Horizons 2022- Day 3

สรุปการประชุม MPN Horizons 2022- Day 3 สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วทุกท่าน วันที่ 3 ของการประชุม: วันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. 65 – วันสุดท้ายของการประชุม เริ่มต้นด้วย advocacy session ในหัวข้อ From theory to reality โดย Lindsey…

สรุปการประชุม MPN Horizons 2022- Day 2

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วไป ทุกท่านครับ วันที่ 2 ของการประชุม: วันเสาร์ที่ 19 พ.ย. 65 – เริ่มต้นด้วย หัวข้อที่น่าสนใจมากข้อหนึ่งของ medical session คือ Novel Therapies in MPNs เกี่ยวกับ การรักษาวิธีใหม่ๆของโรค MPNs – Dr. Naveen ได้เริ่มนำเสนอให้เห็นภาพรวม…

สรุปการประชุม MPN Horizons 2022- Day 1

สรุปการประชุม MPN Horizons 2022- Day 1 สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย และ ผู้สนใจทั่วไป ทุกท่านครับ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของผมทุกครั้ง ที่มีโอกาสเป็นตัวแทนของชมรมฯเราไปร่วมการประชุมประจำปีนานาชาติที่เรียกว่า MPN Horizons International Conference ซึ่งปีนี้จัดที่ เมือง Netanya ประเทศ Israel 3 วัน ระหว่างวันที่ 18 ถึง 20 พฤจิกายน…

เสวนาออนไลน์ผ่าน FB Live ครั้งที่ 2

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกและสาธารณชนทั่วไปทุกท่านครับ ผมขอเป็นตัวแทนของ ชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย ขอขอบคุณ คุณศิรินทิพย์ประธานมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อาจารย์นพดล ประธานชมรมโรค MPN ประเทศไทย (กลุ่มแพทย์) และ อาจารย์ทั้ง 3 ท่านจากโรงเรียนแพทย์ ร.พ. พระมงกุฎฯ, ร.พ.จุฬาฯ , คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อ. อิศรางค์ จากสภากาชาดไทย รวมทั้ง อ.ตั้มและคุณแอม ตัวแทนผู้ป่วย ที่ร่วมกันทำให้ เสวนาออนไลน์ผ่าน…